วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Definition of IT and IS


หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป

แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
   1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
   2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ



"สรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้" 

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
หมายถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

องค์ประกอบระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ 
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน 


3. ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
 

4. เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร


5. กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ



6. คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ


 
                
ระบบสารสนเทศ (Information system)
 หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร

ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม    3    อย่าง  คือ   การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ    (Input)     การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  แต่ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ประเภทของระบบสารสนเทศ
            เนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป   4 ประเภท  ดังนี้
1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)  เป็นระบบประมวลผลรายการประจำ (TPS : Transaction Processing Systems ) หรือ ระบบประมวลผลข้อมูล ( DP : Data Processing Systems) ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในรูปของรายงานหรือเอกสารของการปฏิบัติงาน  ผู้ใช้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล, พนักงาน  ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆ  เช่น รายงานสินค้าที่ขายในแต่ละวันแยกตามประเภทสินค้า, รายงานการซื้อ, การทำบัญชี ใช้ข้อมูลแยกกัน เนื่องจากทำงานแยกกันเป็นฝ่าย ๆ

2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)        เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ     ( MIS : Management Information Systems ) เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูล /สารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP หรือ TPS เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลนำฐานข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าไว้ด้วยกัน   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารเพื่อให้ผู้บริหารเกิดภาพรวมในการ ตัดสินใจ มิใช่ตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของงานใดงานหนึ่งเท่านั้น มีกลไกในการสร้างระบบความปลอดภัยของข้อมูล

3.   ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)      เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   ( DSS : Decision Support Systems )เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นสำหรับทดลองทางเลือกในการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ  ช่วยในการตรวจสอบ ใช้งานง่าย  อยู่ในรูปกราฟิก แผนงาน หรือปัญญาประดิษฐ์ ผู้บริหารที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้ได้โดยสะดวก สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองการตัดสินใจ การควบคุม และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
  4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสนับสนุนสำหรับผู้บริหาร ( ESS : Executive Support System)  เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูง ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว รองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน  ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร  เช่น สำนักข่าว CNN, , ตลาดหุ้น 
                 
             ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภทแต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ  เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่  หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร 

          


รหัสนักศึกษา  5036516




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น