วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อะไรบ้างซึ่งจะเป็นข้อจำกัดของการใช้intranetในธุรกิจยุคปัจจุบัน

อินทราเน็ต (Intranet)  คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น

กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น

อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต ในปัจจุบันได้มีผู้ให้คำจำกัดความของอินทราเน็ตไว้ต่าง ๆ ดังนี้
-
อินทราเน็ตเป็นระบบเครือข่ายภายในที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน
-
อินทราเน็ต เป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในองค์กร
-
อินทราเน็ต เป็นคำที่สื่อความหมายถึงการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะ
-
อินทราเน็ตเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะในองค์กร
-
อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ ในองค์กรหรือหน่วยงาน
-
อินทราเน็ต เป็นการรวมสารสนเทศที่มีอยู่ โดยวิธีการปรับปรุงให้เข้าถึงและกระจายข้อมูลผ่าน
ข้อจำกัดของอินทราเน็ต
- เทคโนโลยีใหม่ที่ค่อยเป็นค่อยไป
- ขาดคุณสมบัติในเรื่องความปลอดภัย
- ขาดการจัดการปฏิบัติงาน
- การสนับสนุนจากผู้ใช้ต่ำสุด
- อาจต้องการการยกระดับเครือข่าย
- ซอฟต์แวร์บราวเซอร์ / แม่ข่ายไม่สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างรุ่นต่างๆได้
- ไม่ได้อัตราส่วนกับองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้โปรแกรมประยุกต์เชิงโต้ตอบที่เพิ่มขึ้น




นักศึกษาเคยใช้จดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์และการสนทนาทางอินเตอร์เน็ตหรือการร่วมกันปรึกษาการทำงานในกลุ่มร่วมกันหรือไม่ มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้การสื่อสารและการทำงานร่วมกันประสบความสำเร็จ

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการสนทนาทางอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมจนแทบแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน  ซึ่ง การเข้าถึงก็เป็นไปได้ง่ายกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ร้านอินเตอร์เน็ท หรือสถานศึกษา ซึ่งทุกคนต้องเคยได้ใช้งานมาทุกคนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานประสานงาน  ปรึกษา แก้ไขงาน กับสมาชิกในกลุ่ม  
จดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail 
 เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยม สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้  ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องมีที่อยู่ของตนเองกับผู้ให้บริการนั้น ๆ   เช่น   www.gmail.com  หรือ www.hotmail.com เป็นต้น   เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้  ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน  ทำ ให้สามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ สมาชิกกลุ่มโดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลกจะรู้สึก อิสระและกล้าแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นได้มากกว่าปกติ  ตลอด จนสามารถเข้าถึงสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคที่ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาสังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งมีข้อดีดังนี้

1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจากกันได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่าน ทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น
2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง

 3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆคนได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่นการแจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบหรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น
4. ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของจะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย
5. สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์
ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าคนรุ่นปัจจุบันแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักอีเมล์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  ทั้ง นี้เห็นจะเป็นเพราะความสะดวกรวดเร็วของมันซึ่งทำให้สามารถใช้ติดต่อสื่อสาร กันได้กว้างไกลไปทั่วโลกในชั่วระยะเวลาสั้นๆเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น  แต่กระนั้นก็ดี ทุกสิ่งในโลกใบนี้ย่อมมีอยู่สองด้านมีทั้งด้านดีและเลว  มีประโยชน์และมีโทษ ซึ่งขึ้นอยู่กับเราว่าจะพิจารณาแล้วนำไปใช้ทางด้านใด

การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ Chat
การพูดคุยสนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ต นับ เป็นบริการหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเน็ตทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาจากการพูดคุยกันด้วยการพิมพ์มาเป็นการสนทนาด้วย เสียง โทรศัพท์ ซึ่งมีทั้งความเป็นส่วนตัวโดยการส่งเมสเสจคุยกัน หรือจะรวมกลุ่มกันหลายๆ คนก็ได้ถ้าต้องการ แต่ซอฟต์แวร์บางตัวก็เป็นการสนทนากันด้วยเสียงคำพูด(ต้องมีไมโครโฟน) หรือไม่ก็เป็นวิดีโอภาพ(ต้องใช้เวบแคม)
รูปแบบการ Chat
Chat ตามเวบไซต์ เราสามารถเข้าไปสนทนากันได้ที่เว็บไซต์ที่จัดให้บริการห้องสนทนา วิธีนี้ไม่ยุ่งยากอะไร ไม่ต้องเสียเงิน โดยเข้าไปในเวบไซต์ต่างๆ ที่มีห้องสนทนาให้ เช่น วิธีการก็แค่ เลือกห้องสนทนาที่ต้องการ แล้วลงชื่อ จากนั้นก็จะสามารถเข้าไปสนทนาได้ทันที โดยเป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ เหมือนท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไป โดยนิยาม Text Chat คือ คุณจะต้องพิมพ์ข้อความที่จะคุยลงไปแล้วอีกฝ่ายก็จะตอบกลับมาเป็นข้อความเช่น กัน แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือ จะมีผู้อื่นอยู่ร่วมห้องสนทนากับเราด้วย และผู้อื่นก็สามารถที่จะอ่านได้และเราเองก็จะสามารถอ่านข้อความสนทนาของผู้ อื่นได้เช่นกัน และถ้ามีคนอยู่ในห้องสนทนานั้นมากๆ ก็จะทำให้ช้า หรือไม่ก็ทำให้เราอ่านข้อความของคู่สนทนาของเราไม่ทัน
ใช้โปรแกรม Chat โดยเฉพาะ การ สนทนากันโดยใช้โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการคุยโดย เฉพาะ ซึ่งมีความสามารถในการคุยสูงกว่าห้องสนทนาตามเวบไซต์ ตัวอย่างโปรแกรมก็เช่น , MSN Messenger เป็นต้น MSN Messenger เป็นโปรแกรมยอดนิยมซึ่งนักเล่นอินเทอร์เน็ตมีกันเกือบทุกคน (100 ล้านกว่าคนทั่วโลกมีโปรแกรมนี้ใช้) มีความสามารถหลากหลาย และตัวนี้เป็นฟรีซอฟต์แวร์ นอกจากนั้นยังมีโปรแกรม Chat ยอดนิยมที่นักเล่นอินเทอร์เน็ตนิยมใช้กันอีกหลายโปรแกรมเช่น Skype เป็นต้น

ซึ่งข้อดีของ chat ก็จะคล้าย ๆ กับ e-mail แต่จะต่างกันตรงที่ไม่ต้องผ่านตัวกลางเพื่อเข้าและใช้สำหรับเปิดจดหมายสำหรับอ่าน การchat ทำให้รับข้อมูลได้ทันทีเมื่อมีการส่งมาในขณะที่เราออนไลน์อยู่




วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Definition of IT and IS


หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป

แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
   1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
   2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ



"สรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้" 

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
หมายถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

องค์ประกอบระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ 
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน 


3. ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
 

4. เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร


5. กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ



6. คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ


 
                
ระบบสารสนเทศ (Information system)
 หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร

ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม    3    อย่าง  คือ   การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ    (Input)     การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  แต่ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ประเภทของระบบสารสนเทศ
            เนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป   4 ประเภท  ดังนี้
1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)  เป็นระบบประมวลผลรายการประจำ (TPS : Transaction Processing Systems ) หรือ ระบบประมวลผลข้อมูล ( DP : Data Processing Systems) ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในรูปของรายงานหรือเอกสารของการปฏิบัติงาน  ผู้ใช้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล, พนักงาน  ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆ  เช่น รายงานสินค้าที่ขายในแต่ละวันแยกตามประเภทสินค้า, รายงานการซื้อ, การทำบัญชี ใช้ข้อมูลแยกกัน เนื่องจากทำงานแยกกันเป็นฝ่าย ๆ

2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)        เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ     ( MIS : Management Information Systems ) เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูล /สารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP หรือ TPS เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลนำฐานข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าไว้ด้วยกัน   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารเพื่อให้ผู้บริหารเกิดภาพรวมในการ ตัดสินใจ มิใช่ตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของงานใดงานหนึ่งเท่านั้น มีกลไกในการสร้างระบบความปลอดภัยของข้อมูล

3.   ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)      เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   ( DSS : Decision Support Systems )เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นสำหรับทดลองทางเลือกในการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ  ช่วยในการตรวจสอบ ใช้งานง่าย  อยู่ในรูปกราฟิก แผนงาน หรือปัญญาประดิษฐ์ ผู้บริหารที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้ได้โดยสะดวก สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองการตัดสินใจ การควบคุม และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
  4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสนับสนุนสำหรับผู้บริหาร ( ESS : Executive Support System)  เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูง ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว รองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน  ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร  เช่น สำนักข่าว CNN, , ตลาดหุ้น 
                 
             ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภทแต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ  เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่  หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร 

          


รหัสนักศึกษา  5036516